เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
ผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน2
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร้ายแรงในระยะยาวที่พบในประชากรเกือบครึ่งล้านคนทั่วโลก โรคนี้เกิดจากการมีระดับกลูโคสในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ หรือผลิตได้ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถใช้อินซูลินที่ผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ผลิตในตับอ่อนที่ช่วยให้กลูโคสจากกระแสเลือดดูดซึมเข้าสู่เซลล์ของร่างกายและเปลี่ยนเป็นพลังงาน หากร่างกายสร้างอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางคลินิกของโรคเบาหวาน
ค่าประมาณการณ์ความชุกของโรคเบาหวาน (ชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 รวมกันทั้งที่ได้รับการวินิจฉัยและที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย) ในคนอายุ 20-79 ปี มีค่าเพิ่มขึ้นถึง 463 ล้านคน (คิดเป็น 9.3% ของประชากรโลก) หากไม่มีการดำเนินการอย่างเพียงพอที่จะจัดการกับโรคนี้คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2573 จะมีประชากร 578 ล้านคน (คิดเป็น10.2% ของประชากร) เป็นโรคเบาหวาน และตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 700 ล้านคน (10.9%) ในปี พ.ศ. 25883
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านทานต่อตนเองซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเข้าโจมตีเซลล์ที่ผลิตอินซูลินของตับอ่อนซึ่งเป็นผลให้มีการสร้างอินซูลินน้อยมากถึงไม่มีเลย ในปัจจุบันนี้ยังมีความเข้าใจสาเหตุการทำลายเซลล์นี้อย่างไม่สมบูรณ์และไม่สามารถป้องกันได้ แต่คำอธิบายที่น่าจะเป็นไปได้คือ น่าจะเกิดจากผลรวมกันของความไวทางพันธุกรรมและตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ภูมิตัวเอง
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในเด็กและคนวัยหนุ่มสาว
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องฉีดอินซูลินทุกวันเพื่อรักษาระดับกลูโคสให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม หากไม่มีอินซูลินผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ อย่างไรก็ตามด้วยการรักษาด้วยอินซูลินที่เหมาะสม ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ด้วยการให้ความรู้และการสนับสนุน ผู้ป่วยก็จะสามารถมีชีวิตที่มีสุขภาพดี สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานได้
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่พบมากที่สุดคิดโดยประมาณ 90% ของโรคเบาหวานทั่วโลก ในโรคเบาหวานนชนิดที่ 2 มีภาวะที่เรียกว่า ‘ภาวะดื้อต่ออินซูลิน’ ซึ่งเป็นภาวะที่ฮอร์โมนอินซูลินไม่ได้ผล และเซลล์ของร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างเต็มที่ เป็นผลให้มีการผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นและน้ำตาลในเลือดสูง ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่โรคนี้มีความเชื่อมโยงอย่างมากกับภาวะน้ำหนักเกินและอายุที่เพิ่มขึ้นรวมถึงเชื้อชาติและประวัติครอบครัว และเป็นผลมาจากการผสมผสานของยีนที่มีความหลากหลาย
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่จะพบมากขึ้นในเด็กและคนอายุน้อยเนื่องจากพบโรคอ้วนในระดับที่สูงขึ้น การไม่ออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม หลักการที่สำคัญของการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือการส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีรวมถึงการออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้นและการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามหากความพยายามที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้ยารับประทาน (หรืออินซูลิน) เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- ในระหว่างตั้งครรภ์ อาจเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ในบางครั้ง แต่ภาวะนี้มักจะหายไปได้ในภายหลัง นอก
- จากนี้ยังสามารถพบเบาหวานชนิดที่หายากอื่นๆได้เช่นกัน
ในระยะยาว ระดับกลูโคสที่สูงจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตและทำให้คุณภาพชีวิตลดลง
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่องสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่างๆของร่างกายจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดความพิการ และที่คุกคามชีวิต เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด ความเสียหายของเส้นประสาท (โรคของเส้นประสาท), ความเสียหายต่อไต โรคตา (โรคจอประสาทตา การสูญเสียการมองเห็น และแม้กระทั่งตาบอด) และภาวะแทรกซ้อนจากแผลเบาหวานที่เท้า (นำไปสู่การตัดขา)
เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนจากแผลเบาหวานที่เท้า
แผลเบาหวานที่เท้าเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ที่พบบ่อยที่สุด
มีหลายปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดแผลเบาหวานที่เท้า
และที่ทำให้แผลหายช้า:
การสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย (Loss of Protective Sensation ; LOPS)
โรคเบาหวานทำให้เกิด LOPS เนื่องจากโรคของเส้นประสาท โรคของเส้นประสาท คือความเสียหายของเส้นประสาทเนื่องจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง เมื่อเกิดโรคของเส้นประสาทส่วนปลาย (ซึ่งเป็นรูปแบบของโรคเส้นประสาทจากเบาหวานที่พบมากที่สุด) เส้นประสาทจะสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเส้นประสาทสั่งการ เส้นประสาทรับความรู้สึก หรือเส้นประสาทอัตโนมัติ
การสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย (LOPS) ทำให้ง่ายต่อการบาดเจ็บที่เท้าโดยไม่รู้ตัวนำไปสู่การเป็นแผล ผู้ป่วยที่มี LOPS อาจสูญเสียความสามารถในการรับรู้ความเจ็บปวด ความร้อนหรือความเย็นที่เท้า เมื่อการรับความรู้สึกลดลงผู้ป่วยจะไม่รู้ตำแหน่งของเท้าเวลาเดินซึ่งอาจทำให้เกิดแรงกดต่อกระดูกและข้ออย่างมีนัยสำคัญ เป็นผลให้เท้าเกิดผิวหนังแข็ง (ผิวหนังด้าน) ซึ่งอาจทำให้เท้าผิดรูปและเกิดบาดแผล
ตัวอย่างเช่นผู้ป่วยที่มี LOPS อาจไปเหยียบบนแก้วโดยไม่รู้ตัวจนทำให้ตัวเองป็นแผล
การผิดรูปของเท้า
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนที่เท้าเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นอีกหากคุณมีความผิดปกติของเท้าด้วย ในผู้ป่วยเบาหวานความเสียหายต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเท้า ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและทำให้เท้าผิดรูป และทำให้เกิดจุดรับแรงกดที่ผิดปกติไป ส่งผลให้กระดูกงอกผิดปกติซึ่งอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดและทำให้เกิดแผล
ความผิดปกติของเท้าที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเบาหวานคือ: นิ้วเท้าหงิกงอ นิ้วเท้างอจิก เกิดภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง …
โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (PAD)
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิด PAD ได้แก่ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูงและภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
โรคเบาหวานกระตุ้นให้เกิดการสะสมของคอเลสเตอรอลบนผนังของหลอดเลือดแดงที่ขา และก่อให้เกิดการสะสมของคราบไขมันในหลอดเลือด เป็นผลให้เลือดไหลผ่านขาและเท้าได้ยากเนื่องจากหลอดเลือดแดงในขาตีบแคบลง หรืออุดตัน (ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง) ถ้าเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของเท้าลดลง จะเกิดการบาดเจ็บต่อเท่าได้ง่ายขึ้น
ด้วยเหตุนี้ PAD จึงเพิ่มความเสี่ยงและความรุนแรงต่อแผลที่เท้า
PAD อาจส่งผลต่อการลำเลียงออกซิเจนในกล้ามเนื้อ (การขาดเลือดไปเลี้ยง) ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดขาและแผลจากการขาดเลือด แผลเหล่านี้ทำให้เกิดเจ็บปวดมาก ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งที่ขา ข้างเท้า หรือปลายนิ้วเท้า หรือปรากฏเป็นเนื้อตาย
ในกรณีที่มีอาการบาดเจ็บทางระบบประสาทหรือเกิดบาดแผล PAD จะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงเนื่องจากการลดลงของออกซิเจนในบริเวณที่เกิดแผล – และทำให้แผลหายช้า หรืออาจทำให้แผลไม่หายเลย
การขาดเลือดไปเลี้ยง คือการที่หลอดเลือดแดงถูกปิดกั้นหรือแคบลง ทำให้ส่วนของร่างกายที่หลอดเลือดนั้นไปเลี้ยงไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ประวัติการเป็นแผลที่เท้าหรือการตัดขา
หลังจากแผลหาย อัตราการเกิดซ้ำของแผลเบาหวานที่เท้า คือ 40% ภายในหนึ่งปี และ 65% ภายใน 3 ปี4
“ดังนั้นมันอาจมีประโยชน์มากกว่าที่ให้คิดว่าผู้ป่วยที่แผลปิดสนิทแล้วถือว่าอยู่ในระยะสงบแทนที่จะเรียกว่าแผลหาย”
ชนิดของแผลเบาหวานที่เท้า
แผลเบาหวานที่เท้าแบ่งเป็น 3 ประเภท
ขึ้นอยู่กับการสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย (LOPS) และ โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (PAD)
แผลเบาหวานที่เท้าจากความเสื่อมของเส้นประสาท
แผลเบาหวานที่เท้าจากการขาดเลือดและความเสื่อมของเส้นประสาท
แผลเบาหวานที่เท้าจากการขาดเลือด
การเกิดแผลที่เท้าจากความเสื่อมของเส้นประสาท
- สาเหตุ: เส้นประสาทเสียหาย
- บาดแผลที่พื้นผิว : สีชมพูและมีแกรนูล
- การสูญเสียประสาทสัมผัส
- ผิวหนังด้านและหนา
- ผิวแห้งและรอยแยก (รอยแตก)
- ผิวหนังชั้นนอกหนาตัวผิดปกติ
- เท้าผิดรูป
- เท้าอุ่นร่วมกับมีชีพจรที่เท้าเด้ง
การเกิดแผลที่เท้าจากการขาดเลือด
- สาเหตุ : การไหลเวียนของเลือดถูกจำกัด
- ความเจ็บปวด
- พบเนื้อตายได้บ่อย
- เท้าเย็นไม่สามารถสัมผัสชีพจรที่เท้าได้
- บาดแผลที่พื้นผิว : ซีดและเกิดคราบ พบแกรนูลน้อย
- บริเวณที่เป็น : ปลายนิ้วเท้า ขอบเล็บ ซอกนิ้วเท้าและขอบด้านข้างของ
เท้า
การเกิดแผลที่เท้าจากการขาดเลือดและความเสื่อมของเส้นประสาท
- สาเหตุ : เกิดความเสื่อมของเส้นประสาทและการลำเลียงเลือด
- ระดับการสูญเสียประสาทรับสัมผัส
- หนังด้านที่แตกต่างกัน
- มีแนวโน้มที่จะเกิดเนื้อตาย
- เท้าเย็นไม่สามารถสัมผัสชีพจรที่เท้าได้ (อาจจะ)
- บาดแผลที่พื้นผิว : พบแกรนูลน้อย
- มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ
- บริเวณที่เป็น : ขอบของเท้า นิ้วเท้า และทุกที่บนเท้า
ผลกระทบของการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า
1 ใน 4 1
ทุกๆ 20 5
70% 3
แผลเบาหวานที่เท้าอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสถูกตัดเท้าเนื่องจากแผลเบาหวานที่เท้ามากกว่าคนอื่นๆถึง 15 เท่า
โรคเบาหวานได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญของการตัดขาทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนอย่างมาก หลายคนไม่สามารถทำงานได้ ต้องพึ่งพาผู้อื่นและไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยพบภาวะซึมเศร้าได้บ่อย
ผู้ป่วยที่ถูกตัดขามากถึง 70% จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี
คำสัมภาษณ์ของผู้ป่วย
บทสัมภาษณ์จริงจากผู้ป่วยที่มีประวัติแผลเบาหวานที่เท้า
ยังโชคดีที่การศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าสามารถป้องกัน และรักษาแผลที่เท้าได้สำเร็จด้วยการป้องกันที่มากขึ้น ด้วยการค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นแผลที่เท้าและการส่งต่อผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวานที่เท้าไปยังคลินิกเฉพาะทางที่เหมาะสม