สารบัญ

องค์ประกอบสำคัญ 5 ประการที่สนับสนุนการป้องกันแผลเบาหวานที่เท้า :

มีจานวนผู้ป่วยที่มีแผลที่เท้ท้า

จากการเท้ป็นโรคเท้บาหวานมากมาย1

อาจถูกตัดขาได้ถึง285%

สามารถป้องกันการตัดขาได้

1. Boulton AJM. The diabetic foot. Diabet Med 2006;34:87-90

2. International Diabetes Federation Atlas – 9th edition 2019: page 89.

ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้า?

การค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงได้แต่เนิ่นๆเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากแผลเบาหวานที่เท้า

มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ 2 ประการสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน :

1การสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย (LOPS) เนื่องจากโรคของเส้นประสาท
2โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (PAD)

จำเป็นต้องค้นหาและติดตามปัจจัยเหล่านี้อย่างเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่จะเกิดแผลที่เท้า การตรวจเท้าทุกวันจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

เรียนรู้เกี่ยวกับแผลที่เท้า
นี่คืออาการหลักของ LOPS และ PAD:

ความเสียหายต่อเส้นประสาท (LOPS)
อาจแสดงโดย:

  • ความรู้สึกเหน็บชา หรือถูกเข็มตำ
  • ความเจ็บปวด (แสบร้อน)
  • เท้าขับเหงื่อน้อยลง
  • สีของเท้าเปลี่ยนแปลงไป
  • รูปร่างของเท้าเปลี่ยนแปลงไป
  • แผลพุพอง และการเกิดบาดแผล
  • การสูญเสียความรู้สึกที่เท้าหรือขา

ความเสียหายต่อการลำเลียงเลือด
อาจแสดงโดย:

  • เป็นตะคริวที่น่อง (ขณะพักหรือเดิน)
  • ผิวเรียบมันวาว
  • ขนร่วงที่ขาและเท้า
  • เท้าเย็นและซีด
  • สีของเท้าเปลี่ยนแปลงไป
  • แผลที่ไม่ยอมหาย
  • การปวดที่เท้า
  • เท้าบวม

กุญแจสำคัญคือค้นหาปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ฉันจะระบุ การสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย (LOPS) ได้อย่างไร และ PAD?

เราสามารถจำแนกผู้ป่วยตามระดับความเสี่ยงและดำเนินมาตรการป้องกันที่เหมาะสม โดยอาศัยปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้

อะไรคือระดับความเสี่ยงของผู้ป่วยของฉัน?

มีการจำแนกระดับสากลเพื่อจัดระดับความเสี่ยงของผู้ป่วยของคุณ
นอกจากนี้การระบุระดับความเสี่ยงของผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยมีหลักเกณฑ์อย่างง่าย คือ LOPS, PAD, เท้าผิดรูปหรือประวัติการเกิดแผลที่เท้าหรือการตัดขา หรือโรคไตวายระยะสุดท้าย
การจำแนกประเภทนี้จะช่วยคุณทราบความถี่ในการตรวจสอบที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และระดับการดูแลที่แนะนำ

1
ความเสี่ยงของแผล

ต่ำมาก

ลักษณะเฉพาะ

ไม่มี LOPS และไม่มี PAD

ความถี่ในการตรวจติดตาม

ปีละครั้ง

2
ความเสี่ยงของแผล

ต่ำ

ลักษณะเฉพาะ

LOPS หรือ PAD

ความถี่ในการตรวจติดตาม

ทุกๆ 6-12 เดือน

ต้องใช้การดูแลในระดับผู้เชี่ยวชาญ

แพทย์ทั่วไป แพทย์เฉพาะทางโรคเท้า พยาบาลโรคเบาหวาน

3
ความเสี่ยงของแผล

ปานกลาง

ลักษณะเฉพาะ

LOPS + PAD หรือ
LOPS + เท้าผิดรูป หรือ
PAD + เท้าผิดรูป

ความถี่ในการตรวจติดตาม

ทุกๆ 3-6 เดือน

ต้องใช้การดูแลในระดับผู้เชี่ยวชาญ

แพทย์โรคเบาหวาน ศัลยแพทย์ออโธปิดิกส์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาลโรคเบาหวาน

4
ความเสี่ยงของแผล

สูง

ลักษณะเฉพาะ

การสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย (LOPS) หรือ โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (PAD) และอย่างน้อยหนึ่งอย่างต่อไปนี้:
•ประวัติของแผลที่เท้า

  • History of a foot ulcer
  • การตัดขา (เล็กน้อยหรือใหญ่)
  • โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
ความถี่ในการตรวจติดตาม

ทุกๆ 1-3 เดือน

ต้องใช้การดูแลในระดับผู้เชี่ยวชาญ

ทีมสหสาขาวิชาชีพเฉพาะด้านการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

สิ่งสำคัญมากคือ ต้องประเมินระดับความเสี่ยงของผู้ป่วยด้วยความถี่ที่แนะนำจากการจำแนกประเภท ในกรณีที่คุณไม่สามารถประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยได้ด้วยตนเอง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ป่วยจะถูกส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม

นอกเหนือจากการประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยเป็นประจำแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องตรวจที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานในระหว่างการให้คำปรึกษาแต่ละครั้ง
การให้คำปรึกษากับผู้ป่วยในแต่ละครั้ง ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า

คุณสามารถสอนคนไข้ของคุณเพื่อรักษาเท้าของพวกเขาให้ปลอดภัยและป้องกันการเกิดแผลที่เท้าด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

การควบคุมระดับน้ำตาล

ขั้นตอนแรกเพื่อป้องกันการเกิดแผลคือ การตรวจสอบว่าระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วงปกติตลอดทั้งวันการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเป้าหมายจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถป้องกันการเกิดแผลที่เท้าและทำให้แผลที่มีอยู่ไม่แย่ลง

การดูแลเท้ารายวัน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรล้างเท้าให้สะอาดทุกวันในน้ำอุ่น แต่ไม่ควรแช่น้ำร้อนและเช็ดเท้าให้แห้ง เตือนผู้ป่วยด้วยว่าให้เช็ดซอกนิ้วให้แห้งด้วย การใช้ครีมให้ความชุ่มชื้นจะช่วยให้ผิวของผู้ป่วยนุ่ม แต่ไม่ควรใช้ระหว่างนิ้วเท้าเพราะอาจทำให้ผิวชุ่มชื้นเกินไป

การสวมใส่รองเท้าอย่างเหมาะสม

ต่อไปนี้คือสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรู้เกี่ยวกับรองเท้า:

  • ให้สวมใส่รองเท้าไม่มีส้นเพื่อให้มีช่องว่างสำหรับอากาศถ่ายเท
  • หลีกเลี่ยงรองเท้าที่เล็กหรือปลายแหลมเกินไป หากรองเท้าคับหรือหลวมเกินไปหลวมเกินไป หรือเกิดการเสียดสีก็ไม่ควรสวมใส่ แม้ว่าจะดูดีก็ตาม
  • หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า
  • ไม่สวมถุงเท้าที่รัดแน่นหรือสูงถึงเข่า
  • ให้ตรวจสอบความเสียหายของรองเท้า ถุงเท้า และถุงน่อง ในแต่ละครั้งก่อนใส่ รอยแตก หินขนาดเล็ก และเล็บสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองและทำร้ายผิวหนังได้

การตรวจเช็คเท้ารายวัน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรตรวจสอบเท้าของตนทุกวันเพื่อหาบาดแผล ให้ตรวจสอบให้ดีไม่ว่าก่อนจะใส่ถุงเท้า หรือถอดถุงเท้าก่อนนอน หากพบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ให้ไปพบบุคลากรทางการแพทย์ทันที หากผู้ป่วยมีปัญหาในการยกเท้าขึ้นมาดู อาจต้องใช้กระจกมาส่องฝ่าเท้าดู ถ้าหากยังยากเกินไปผู้ป่วยอาจขอให้ผู้อื่นช่วยดูแทนให้ นอกจากนี้ยังสามารถขอความช่วยเหลือจากพยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์ให้ทำแทนในระหว่างการตรวจร่างกายเป็นประจำ

รู้หรือไม่?

ให้เตือนผู้ป่วยโรคเบาหวานว่าควรไปรับการตรวจเท้าอย่างน้อยปีละครั้งจากแพทย์ทั่วไป

ในกรณีที่คุณสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติระหว่างการตรวจเท้าของผู้ป่วยโปรดจำไว้ว่า ...

เมื่อเกิดแผลที่เท้าจากโรคเบาหวาน ทุกๆวันมีความหมาย

1. Boulton AJM. The diabetic foot. Diabet Med 2006;34:87-90

2. International Diabetes Federation Atlas – 9th edition 2019: page 89.

3. IWGDF Practical Guidelines – The IWGDF Risk Stratification System and corresponding foot screening frequency – 2019: page 7.